ประวัติ
พระยาสุนธรธรรมธาดา (คำสิงห์ สิงห์ศิริ) เป็นบุตรของพระฤกษ์มนตรี และนางทองสี เกิดที่บ้านจอมนาง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย เมื่อวันอังคาร ปีมะโรง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2375 เมื่อ พ.ศ. 2380 เริ่มเรียนหนังสือไทยจากท่านครูหลักคำ จนเมื่ออายุครบบวชจึงได่อุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา 2 พรรษา ที่วัดจุมพล อำเภอโพนพิสัย จากนั้นได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายกอง บัญชีอยู่กับเจ้าเมืองโพนพิสัย มีหน้าที่สำรวจไพร่พลและเตรียมเสบียงอาหารสมทบกองทัพหลวง ซึ่งไปจากพระนคร
พ.ศ. 2397 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นนายกองบัญชี
พ.ศ. 2398 ได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นท้าวพรหมสาร
พ.ศ. 2401 ได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นเจ้าเมืองประชุมพนาลัย (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองบริคัณฑ์นิคม อยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง คือเมืองบริคัณฑ์ ในประเทศลาวปัจจุบัน) ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นที่ พระศรีสุรศักดิ์สุนทร
พ.ศ. 2426 มีพวกฮ่อเข้ามาปล้มชายพระราชอาณาเขตทางแคว้วสิบสองจุไทย จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชวรานุกูล พระยาสุโขทัย เป็นแม่ทัพเกณฑ์ไพร่พลทางหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือไปปราบฮ่อ พระศรีสุรศักดิ์สุนทร (คำสิงห์ สิงห์ศิริ) ได้ร่วมทัพหลวงเป็น แม่กองออกสู้รบปราบฮ่อ ถ้ามีข้าศึกมาย่ำยีอาณาเขตทางด้านนี้ ก็ได้รับมอบหมายให้เป็นแม่กองต่อต้านศึกด้วยทุกครั้ง จนเป็นที่พึงพอใจของทางราชการทุกครั้ง
พ.ศ. 2434 ได้ติดตามพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมข้าหลวงต่างพระอง๕มณฑลฝ่ายเหนือเข้าไปกรุงเทพฯ ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวงในรัชกาลที่ 5 สังกัดกรมมหาดเล็กเวรสิทธิ์
พ.ศ. 2436 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่กองไปขัดตาทัพต่อสู้ฝรั่งเศสที่แก่งเกซึ่งเข้ามายึดดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงจนเหตุการณ์ด้านนี้สงบลง และดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส รวมทั้งเมืองบริคัณฑ์นิคมด้วย จึงโปรดเกล้าฯให้พระศรีสุรศักดิ์สุนทร (คำสิงห์ สิงห์ศิริ) อพยพครอบครัวผู้คนมาตั้งบ้านอยู่บ้านหนองแก้ว ริมฝั่งแม่น้ำโขงด้านตะวันตก แขวงเมืองโพนพิสัย และโปรดเกล้าให้ยกบ้านหนองแก้วขึ้นเป็น เมืองรัตนวาปี เมื่อ พ.ศ. 2437 ส่วนพระยาศรีสุรศักดิ์สุนทร (คำสิงห์ สิงห์ศิริ) พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น พระรัตนเขตรักษา เจ้าเมืองรัตนวาปี คนแรก
พ.ศ. 2436 ได้โปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ.116
พ.ศ. 2440 พระราชทานตราตั้งให้ พระรัตนเขตรักษา (คำสิงห์ สิงห์ศิริ) เป็นพระยาโพนพิสัยสรเดช เจ้าเมืองโพนพิสัย ตามนามเมือง และยุบเมืองรัตนวาปีเป็นอำเภอสังกัดเมืองอุดรธานี ต่อมาทางราชการก็ยุบเมืองโพนพิสัยเป็นอำเภอ ขึ้นกับเมืองหนองคาย
พ.ศ. 2544 เป็นแม่กองสมทบกองทัพหลวงไประงับเหตุเรื่องผีบาปผีบุญที่เมืองอุดรธานี เมืองสกลนคร และเมืองนครพนม จนเหตุการณ์สงบเรียบร้อย นอกจากนี้ยังเป็นแม่กองไรงับเหตุที่พวกเงี้ยวก่อการจราจลทางเมืองบ่อแต และเมืองแทนท้าว ในท้องที่อำเภอด่านซ้าย อำเภอท่าลี่และอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ได้รับตราเป็นบำเหน็จ 2544
ส่วนการปฏิรูปการปกครองตามระบบเทศาภิบาลนั้นก็ดำเนินต่อไป จนเมื่อยุบเมืองโพนพิสัยเป็นอำเภอแล้วพระยาโพนพิสัยสรเดช (คำสิงห์ สิงห์ศิริ) ดำรงตำแหน่งเป็นนายอำเภอโพนพิสัย ตั้งแต่ปี 2450 จนกระทั่ง ปี 2459 จึงออกจากราชการเพื่อรับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ 500 บาท เนื่องจากพระยาโพนพิสัยสรเดช (คำสิงห์ สิงห์ศิริ) มีความดีความชอบต่อแผ่นดินมาแต่อดีต พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 จึงทรงะรักระณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาสุนทรธรรมธาดา เป็นต้นตระกูล “สิงห์ศิริ” เป็นเกียรติยศต่อวงศ์ตระกูลสืบไป
พ.ศ. 2449 พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มาตรวจราชการในเขตมณฑลอุดร และได้เปลี่ยนฐานะเมืองโพนพิสัย เป็นอำเภอโพนพิสัย ขึ้นกับจังหวัดหนองคายจนถึงปัจจุบัน
วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2515 แยกพื้นที่ตำบลโซ่ ตำบลศรีชมพู และตำบลหนองพันทา อำเภอโพนพิสัย ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอโซ่พิสัย ขึ้นกับอำเภอโพนพิสัย
วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2521 แยกพื้นที่ตำบลปากคาด ตำบลหนองยอง และตำบลนากั้ง อำเภอโพนพิสัย ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอปากคาด ขึ้นกับอำเภอโพนพิสัย
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอโพนพิสัยมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงบอลิคำไซ (ประเทศลาว) และอำเภอรัตนวาปี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเฝ้าไร่
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบ้านดุง อำเภอสร้างคอม และอำเภอเพ็ญ (จังหวัดอุดรธานี)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองหนองคาย และนครหลวงเวียงจันทน์ (ประเทศลาว)
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอโพนพิสัยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 159 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | จุมพล | (Chumphon) | 26 หมู่บ้าน | 7. | นาหนัง | (Na Nang) | 17 หมู่บ้าน | |||||
2. | วัดหลวง | (Wat Luang) | 16 หมู่บ้าน | 8. | เซิม | (Soem) | 11 หมู่บ้าน | |||||
3. | กุดบง | (Kut Bong) | 14 หมู่บ้าน | 9. | บ้านโพธิ์ | (Ban Pho) | 13 หมู่บ้าน | |||||
4. | ชุมช้าง | (Chum Chang) | 19 หมู่บ้าน | 10. | บ้านผือ | (Ban Phue) | 8 หมู่บ้าน | |||||
5. | ทุ่งหลวง | (Thung Luang) | 12 หมู่บ้าน | 11. | สร้างนางขาว | (Sang Nang Khao) | 8 หมู่บ้าน | |||||
6. | เหล่าต่างคำ | (Lao Tang Kham) | 15 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอโพนพิสัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลโพนพิสัย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลจุมพล
- เทศบาลตำบลสร้างนางขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสร้างนางขาวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลจุมพล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจุมพล (นอกเขตเทศบาลตำบลโพนพิสัย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดหลวงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกุดบง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดบงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลชุมช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชุมช้างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งหลวงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าต่างคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่าต่างคำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาหนัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาหนังทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเซิม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเซิมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านโพธิ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านผือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านผือทั้งตำบล
การศึกษา
อำเภอโพนพิสัยมีโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาและอาชีวะศึกษา 16 แห่ง ได้แก่
- โรงเรียนชุมพลโพนพิสัย เป็นโรงเรียนประจำอำเภอ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลจุมพลและเป็นโรงเรียนหัวหน้าสหวิทยาเขตพิสัยสรเดช
- โรงเรียนกุดบงพิทยาคาร ตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลกุดบง
- โรงเรียนเซิมพิทยาคม ตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลเซิม
- โรงเรียนนาหนังพัฒนศึกษา ตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลนาหนัง
- โรงเรียนปากสวยพิทยาคม ตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลวัดหลวง
- โรงเรียนร่มธรรมานุสรณ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลเหล่าต่างคำ
- โรงเรียนบ้านนาเพียงใหญ่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลจุมพล(โรงเรียนขยายโอกาส)
- โรงเรียนบ้านโพธิ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลบ้านโพธิ์(โรงเรียนขยายโอกาส)
- โรงเรียนบ้านคำปะกั้ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลบ้านโพธิ์(โรงเรียนขยายโอกาส)
- โรงเรียนบ้านเชียงอาด ตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลเหล่าต่างคำ(โรงเรียนขยายโอกาส)
- โรงเรียนบ้านผือ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลบ้านผือ(โรงเรียนขยายโอกาส)
- โรงเรียนบ้านบัว ตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลชุมช้าง(โรงเรียนขยายโอกาส)
- โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๗ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลจุมพล
- โรงเรียนบัณฑิตศึกษา เป็นโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับเตรียมอนุบาล-ม.3
- โรงเรียนเทคโนโลยีโพนพิสัย (ปัจจุบันได้เปลี่ยนฐานะเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีโพนพิสัย)
- วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย โพนพิสัย
โรงเรียนเอกชน 3 แห่ง ได้แก่
- โรงเรียนอนุบาลเธียรวนนท์ เป็นโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น เตรียมอนุบาล-ป.6
- โรงเรียนสันติรักษ์ เป็นโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น เตรียมอนุบาล-ป.6
- โรงเรียนอนุบาลบ้านบัณฑิตน้อย เป็นโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น เตรียมอนุบาล-ม.3
เศรษฐกิจ
ในอำเภอโพนพิสัยมีธนาคาร 8 แห่ง ได้แก่
- ธนาคารกรุงเทพ
- ธนาคารทหารไทย
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- สาขาโพนพิสัย
- สาขาเซิม
- ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารกสิกรไทย
มีตลาดสด 5 แห่ง ได้แก่
- ตลาดสด ช.เจริญ
- ตลาดสดจอมนาง
- ตลาดสดโพนบก
- ตลาดสดวัดหลวง
- ตลาดสดเทศบาลตำบลโพนพิสัย
การคมนาคม
อำเภอโพนพิสัยมีรถโดยสารประจำทางที่ผ่านดังนี้
- สาย 224 อุดรธานี-นครพนม
- สาย 228 หนองคาย-บ้านแพง
- สาย 943 บริษัท 407 พัฒนา จำกัด กรุงเทพ-บึงกาฬ
- สาย 943 บริษัท แอร์อุดร จำกัด กรุงเทพ-บึงกาฬ
- สาย 4193 หนองคาย-ปากคาด
การรักษาพยาบาล
อำเภอโพนพิสัยมีโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนจำนวน 2 แห่ง(ไม่รวมคลีนิคต่างๆ)
- โรงพยาบาลโพนพิสัย (รัฐบาล)
- โรงพยาบาลพิสัยเวช (เอกชน)
ศาสนา
อำเภอโพนพิสัยมีวัดในพระพุทธศาสนา ดังนี้
- วัดไทย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ติดถนนพิสัยสรเดช ในเขตเทศบาลตำบลโพนพิสัย
- วัดจุมพลเมือง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ติดถนนพิสัยสรเดช ในเขตเทศบาลตำบลโพนพิสัย
- วัดยอดแก้ว ตั้งอยู่ติดถนนพิสัยสรเดช ในเขตเทศบาลตำบลโพนพิสัย
- วัดจอมทอง ตั้งอยู่ติดถนนพิสัยสรเดช ในเขตเทศบาลตำบลโพนพิสัย
- วัดภิรมย์ยาราม ตั้งอยู่ติดถนนภิรมย์ยาราม ในเขตเทศบาลตำบลโพนพิสัย
- วัดมณีโคตร ตั้งอยู่ถนนจุมพล-ทุ่งธาตุ ในเขตเทศบาลตำบลโพนพิสัย เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระเสี่ยง พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองโพนพิสัย
- วัดศรีเกิด ตั้งอยู่ถนนพิสัยสรเดช
วัดในคริสต์ศาสนา
- วัดพระศรีหฤทัย ตั้งอยู่บ้านดอนโพธิ์ หมู่ 14 เขตองค์การบริหารส่วนตำบลจุมพล
คริสตจักรแบ๊พติสท์โพนพิสัย ตั้งอยู่ที่ ริมแม่น้ำโขง บ้านจอมนาง
การท่องเที่ยว
- ตลาดไทย-ลาว ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ในเขตเทศบาลตำบลโพนพิสัย เปิดเฉพาะ วันอังคารและวันเสาร์ เวลา 06.00 น.-13.00น.
- นมัสการหลวงพ่อใหญ่วัดไทย และลอดถ่ำพญานาค
- ประเพณีสงกรานต์ สรงน้ำหลวงพ่อพระเสี่ยงคู่บ้าน และ ขบวนแห่คุ้มวัดแต่ละคุ้ม ณ ถนนพิสัยสรเดช
- ประเพณีบุญเดือน 6 แห่บั้งไฟ และจุดบั้งไฟล้าน ตรงกับวัน ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6
- ประเพณีแห่เทียนพรรษา ตรงกับวัน แรม 1 ค่ำเดือน 8
- เชิญชมบั้งไฟพญานาคปรากฏการณ์ธรรมชาติ ตรงกับวัน ขึ้น 15 ค่ำเดือน 11
- ประเพณีแข่งเรือยาว
- ประเพณีลอยกระทง วันเพ็ญเดือน 12